ป้ายจราจรบนท้องถนนมีหลากหลายรูปแบบ ชนิดที่เรียกว่า เยอะมากๆ จนบางครั้งอาจจะจำไม่หมดเลยทีเดียว เพราะบางป้ายที่เห็นบ่อยๆ ก็อาจจะทำให้เราจะได้คุ้นหน้าคุ้นตา แต่เอ๊ะ เมื่อเดินทางไปต่างที่ต่างถิ่นกลับเจอป้ายที่คล้ายๆกันทำให้ไม่แน่ในว่า ใช่ความหมายและคำสั่งเดียวกันหรือไม่
1.ป้ายห้ามจอด
“ป้ายห้ามจอด” คือ ป้ายจราจรที่มีสัญลักษณ์กลม มีพื้นหลังสีน้ำเงิน และมีเส้นสีแดงขีดคาดข้างเดียว ส่วน “ป้ายห้ามเข้า” คือป้ายที่มีลักษณะวงกลม ตัวสัญลักษณ์สีขาว แต่ มีพื้นสีแดง
2. “ป้ายทางคดเคี้ยว” และ “ป้ายถนนลื่น” มองผ่านๆจะมีลักษณ์ที่คล้ายๆกันคนทั่วไปมักจะเข้าใจ ว่า 2 ป้ายนี้ความหมายคล้ายกัน อันที่จริงแล้ว ความหมายของรูปด้านซ้ายคือระวังเส้นทางข้างหน้า จะมีโค้งเยอะให้ชลอความเร็ว ส่วนด้านขวาเป็นป้ายเตือนว่าชลอความเร็วทางข้างหน้าถนนลื่น
3. ป้ายทางเบี่ยง อีกหนึ่งป้ายเตือนที่ ที่คนมักจะมองว่าเป็นป้ายสะพานหรือทางข้าม แต่อันที่จริงแล้ว หากเจอป้ายลักษณะนี้ ไม่ใช่ ข้างหน้ามีสะพาน หรือ ทางต่างระดับ แต่มันคือป้ายที่เตือนว่า ด้านหน้ามีทางเบี่ยง อันตรายควรลดความเร็ว และใช้เส้นทางอย่างระมัดระวัง
4. ป้ายเตือนรถกระโดด เป็นป้ายที่มีรูปลักษณ์หน้าตาเหมือนกับป้ายผิวทางขรุขระ แต่อันที่จริงแล้วมันคือทางกระโดด หรือ ลูกระนาด หรือเนินเตี้ยๆ ให้ผู้ขับขี่ ขับรถด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าหากมาด้วยความเร็วอาจจะทำให้เกิดการกระเด็นกระดอนจนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
5.ป้ายทางลอดและป้ายทางแคบ ป้ายนี้อาจจะต้องใช้ความสังเกตมากซักหน่อยเพราะมีนจะมีความคล้ายกับป้าย ห้ามใช้ความเร็วเกินกำหนดเท่าไหร่ อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ถ้าหากขับมาด้วยความเร็วและมองด้วยหางตาจะต้องสุงเกตจากลูกศรที่อยู่ด้านบน และ ลูกศรที่อยู่ด้านข้าง ฉะนั้นเจอป้ายเหลืองๆแบบนี้ มันคือป้ายเตือนว่าห้ามรถสูงเกิน 2.5 เมตร ผ่านนั่นเอง