หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่า การค้ำประกัน ธรรมดาๆ นั้นสามารถพลิกชีวิตขอบผู้ค้ำได้เพราะความเกรงใจ และบางคนอาจจะเจ็บช้ำกับสำนวนคำว่า “เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง แล้วยังเอากระดูกมาแขวนคอ” เพราะการที่ไม่ได้ศึกษารายละเอียดการค้ำ จนทำให้ตัวเองนั้นเจ็บตัว ฉะนั้นก่อนค่ำประกันควรศึกษารายละเอียดและผลกระทบให้ดีก่อนครับคุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน
บุคคลทั่วไปที่เป็นบุคคลในเครือญาติหรือไม่มีก็ได้
- เป็นบุคคลที่มีอาชีพรายและรายได้ที่มั่นคง
- เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
- มีถิ่นที่อยู่อาศัยที่แน่นอน
- ไม่มีประวัติการติดเครดิตบูโรก่อนค้ำประกัน
เรื่องที่ควรศึกษาก่อนจะค้ำประกัน
- บุคคลทั่วไปสามารถเป็นผู้ค้ำประกันได้
- ทางสถาบันการเงินต่างๆ จะไม่นำข้อมูลของผู้ค่ำประกันมาร่วมพิจารณาสินเชื่อต่างๆของผู้กู้
- ผู้ค้ำประกันจะไม่มีสิทธิในทรัพย์สินของผู้กูเ
- ดอกเบี้ยของผู้กู้จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เพราะไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆในการผ่อนชำระหนี้
- ผู้ค้ำประกันต้องรับความเสี่ยงเองแต่เพียงผู้เดียวหากผู้กี้ไม่ยอมจ่ายหนี้สินเชื่อต่างๆที่กู้มา
ทำไมจะต้องมีผู้ค้ำประกัน
- เหตุผลของการมีผู้ค้ำประกัน สถาบันการเงินจะเพิ่มความมั่นใจในตัวผู้กู้มากยิ่งขึ้นเพราะถ้าหากผู้กู้ไม่ยอมจ่ายหนี้ ก็ยังมีผู้ค่ำประกันคอยรับผิดชอบแทนอยู่
- ค่ำประกันอย่างไรให้ปลอดภัยหรือเกิดปัญหาน้อยที่สุด
- การที่จะเริ่มตัดสินใจค้ำประกันให้กับใครซักคนนอกจากผู้กู้จะต้องไว้ใจได้แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงอื่นๆอีกคือ
- ผู้ค้ำควรทราบประวัติทางการเงินของผู้กู้ เพราะคุณอาจจะถูกหลอกให้ค้ำประกันและรับผิดชอบหนี้แทนได้
- อ่านเอกสารต่างๆ ของผู้กู้เกี่ยวกับการค้ำประกันให้รอบคอบก่อนเซ็นชื่อเพราะเมื่อลงลายมือชื่อแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้
- ผู้ค้ำควรเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงในการเป็นหนี้หรือไม่หากลูกหนี้หนีหาย หรือเบี้ยวสัญญา
กฎหมายคุ้มครองผู้ค้ำประกัน มีดังนี้
กฎหมายค้ำประกันฉบับปรับปรุงใหม่ ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่มีผลบังคับใช้แล้วโดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงจากฉบับเก่าดังนี้
กฎหมายค้ำประกันใหม่จะมีผลคุ้มครองทำให้ ต่อไปนี้ ผู้ค้ำประกันจะได้รับการรับรองสิทธิ์และความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับความผิดแทนลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็นเงินต้นหรือเงินดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ผู้ค้ำจะต้องรับผิดชอบโดยที่ผู้ค้ำไม่รู้เลยว่า ผู้กู้นั้นไม่ได้จ่ายเงินหรือกรณีกำหนดให้สัญญาทำให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วม
แต่หลังจากที่กฎหมายนี้บังคับ ผู้ค้ำประกันจะได้การคุ้มครองดังนี้
- การค้ำประกันในอนาคตนี้มีเงื่อนไข (เช่นความเสียหายที่เกิดจากการค้ำประกันบุคคล) ต้องกำหนดรายละเอียดของหนี้และขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันรวมทั้งจำกัดความรับผิดของค้ำประกันไว้เฉพาะหนี้ตามสัญญานั้น
- กำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้โมฆะ (สัญญาค้ำประกันที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่มีผลบังคับ ผลคือเจ้าหน้าที่ต้องเรียกลูกหนี้มาชำระหนี้ก่อน จนกระทั่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วจึงค่อยมาเรียกร้องกับผู้ค้ำประกัน)
- เพิ่มเติมหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของเจ้าหนี้ให้ต้องค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และผลกรณีเจ้าหนี้มิได้บอกกล่าว และกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ที่ถึงกำหนดได้ ผลคือเวลาลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งภายใน 60 วัน เพื่อให้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้เพื่อไม่เกิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดโดยที่ผู้ค้ำประกันไปเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ภายหลัง หากไม่แจ้งผู้ค้ำไม่ต้องรับผิดชอบ
- ให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหน้าที่กระทำการใดๆ อันมีผลเป็นการลดจำนวนหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วย รวมถึงกำหนดให้ข้อตกลงเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันเป็นโมฆะ
- กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากควาผิดในหนี้อันมีกำหนดเวลาแน่นอน หากเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้และห้ามกำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าให้ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะประกันหนี้ต่อไปแม้ว่าเจ้าหน้าจะผ่อนชำระให้แก่ลูกหนี้แล้ว
ฉะนั้นก่อนที่จะค้ำประกันให้กับญาติสนิทมิตรสหาย จะต้องศึกษาเงื่อนไขต่างๆอย่างละเอียด เพราะไม่ใช่แค่จะผิดใจกับผู้กู้เท่านั้น ผู้ค้ำอาจจะมีหนี้ติดตัวอีกด้วยก็ควรศึกษารายละเอียดและมั่นใจว่า จะไม่มีปัญหาอื่นๆตามมานะครับ
อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติมได้ที่นี่