สาระน่ารู้ » ซีลน้ำมันส่วนไหนกำลังรั่วซึม สังเกตุที่สีของน้ำมัน

ซีลน้ำมันส่วนไหนกำลังรั่วซึม สังเกตุที่สีของน้ำมัน

25 กันยายน 2020
4934   0

อาการน้ำมันรั่วซึมโดยส่วนใหญ่เป็นอาการของรถที่ผ่านการใช้งานมาเป็นระยะเวลาหลายๆ ปี ก็จะมีโอกาสการสึกหรอของซีลยางหรือแหวนยางโอริง สาเหตุอาจจะเกิดจากความร้อน การเกิดอุบัติเหตุ การชนหรือกระแทก ก็สามารถทำให้ยางซิลน้ำมันนั้นมีการรั่วซึมได้เช่นเดียวกัน

วิธีสังเกตุสามารถดูได้จากสีและตำแหน่งของน้ำมัน

ตำแหน่งของน้ำมัน

  • รอยหยดที่อยู่ด้านซ้ายของตัวรถ อาจจะเป็นการรั่วซึมของน้ำมันเกียร์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจาก ซีลเพลาขับเสื่อมสภาพและฉีกขาด เนื้อยางแข็งไม่สามารถเก็บน้ำมันได้ หรืออาจจะเกิดการรั่วซึ่มของอ่างน้ำมันเกียร์หรืออาจจะรั่วซึมจากการหลวมของน้ำมันเกียร์
  • รอยหยดอยู่ด้านขวาของตัวรถ อาจจะเป็นการรั่ว อาจจะเป็นน้ำมันเครื่องรั่ว สาเหตุหลักอาจจะเกิดจากจากซิลอ่างน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพยางแข็งหรือฉีกขาด หรืออาจจะเป็นกรองน้ำมันเครื่องหลวมหรือไม่ไม่เข้าตำแหน่ง

สังเกตุจากสีของน้ำมัน

สีของน้ำมันเครื่อง จะเป็นสีเหลืองอำพัน น้ำตาล หรือสีดำ ถ้าหากเป็นสีเหลืองอำพันใสก็อาจจะเกิดจากการรั่วของซิลกรองน้ำมันหลังจากที่พึ่งเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน

สีแดงและมันลื่น เป็นสีของน้ำมันเกียร์และจะใสกว่าน้ำมันเครื่อง ถ้าหากว่าคุณสงสัยว่าน้ำมันเกียร์ขาดหรือไม่สามารถดูได้จากคู่มือการวัดระดับน้ำมันเกียร์

สีแดงเข้มอมน้ำตาลคล้ายข้องสีน้ำกระเจี๊ยบ ซึ่งอันที่จริงแล้วในรถยนต์หลายๆยี่ห้อ ก็ใช้น้ำมันพาวเวอร์ตัวเดียวกันกับน้ำมันเกียร์แหละครับ(แต่แนะนำให้ศึกษาก่อนเพราะบางยี่ห้อนั้นไม่สามารถใช้ได้) ถ้าหากเห็นว่าเป็นสีแดงเข้มว่าคุณให้สันนิสฐานว่าเป็นน้ำมันพาวเวอร์ ไว้ก่อนเลยครับ

สีชมพู เขียว เหลือง น้ำเงินเข้มหรือสีอื่นๆ

ให้สันนิษฐานว่าเป็นระบบหล่อเย็น หม้อน้ำแนะนำว่าให้ตรวจสอบถังระบายน้ำว่ามีอะไรอยู่ในระบบหรือระดับน้ำจากถังพักน้ำลดลงหรือไม่ อันที่จริงแล้วน้ำหล่อเย็นมีการระเหยจากความร้อนน้อยกว่าน้ำธรรมดามากแต่การที่น้ำพร้องมากๆ ก็อาจจะเกิดจากการรั่วซึมได้

สีน้ำตาลอ่อน อาจจะเป็นน้ำมันเบรค หากถ้ายังใหม่ๆจะเป็นสีใสๆแต่เมื่อใช้ไปนานๆก็จะเป็นน้ำตาลขุ่นๆเข้มๆ และน้ำมันเบรคจะมีลักษณะที่ลื่นควรตรวจเช็คระดับน้ำที่ข้างกระบอกว่าต่ำกว่าขีดมากหรือไม่

หากทราบว่าน้ำมันเบรคมีอาการรั่วไม่ควรใช้งานต่อหรือปล่อยทิ้งไว้เพราะเมื่อน้ำมันเบรคพร่องมากลงเรื่อยอาจจะเป็นอันตรายจากสาเหตุเบรคไม่อยู่ได้