สาระน่ารู้ » ถอดรหัสน้ำมันเครื่อง 0W-40 คืออะไร

ถอดรหัสน้ำมันเครื่อง 0W-40 คืออะไร

14 กุมภาพันธ์ 2021
11395   0

วิธีเลือกซื้อน้ำมันเครื่องต้องดูอะไร?

การเลือกน้ำมันเครื่องที่ถูกต้อง คือการเลือกน้ำมันเครื่องให้ตรงกับสเปคของเครื่องยนต์ แล้วการเลือกน้ำมันเครื่องให้ตรงสเปคควรจะต้องดูอะไรบ้าง วันนี้ผมจะมาบอกอย่างละเอียด พร้อมถอดรหัสของน้ำมันเครื่องเพื่อทำคความเข้าใจว่าเจ้ารหัสที่เขาเรียกกันข้างแลลอนนั้นมีความหมายอย่างไรครับ

เริ่มต้นจากการทำความรู้จักประเภทของน้ำมันเครื่อง

  • น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) เป็นน้ำมันเหล่อลื่นที่ผลิตจากการกลั่นน้ำมันปีโตรเลี่ยม ใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม.
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นธรรมดาที่ผสมกับน้ำมันสังเคราะห์ ใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) เป็นน้ำมันเครื่องที่ผ่านกรรมวิธีสังเคราะห์จากน้ำมันปีโตรเลียมใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.

การอ่านค่าถอดรหัสน้ำมันเครื่องดูอย่างไร

SM นั้นคือค่ามาตรฐาน API (American Petroleum Institute Standard) ที่กำหนดโดยสถาบันอุสาหกรรมปิโตรเลี่ยม แห่งอะเมริกา เป็นมาตรฐานสำหรับน้ำมันเครื่องแบบสากลทั่วโลก

มาตราฐาน API หากเป็นน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินจะขึ้นต้นด้วย S เช่น API SM หรือ API SL ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะขึ้นต้นด้วย C เช่น API CJ-4 หรือ API CI-4

  • API SM ประการศใช้เมื่อ 2010
  • API SL ประกาศใช้เมื่อปี 2004
  • API SJ ประกาศใช้เมื่อปี 2001

CK-4 มาตราฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล ประกาศใช้เมื่อ 2017

  • CJ-4ประกาศใช้เมื่อ 2010
  • CI-4ประกาศใช้เมื่อ 2002
  • CH-4 ประกาศใช้เมื่อปี 1998


เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเคยเห็นรหัสเครื่องแต่ก็ยังมีข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับรหัสน้ำมันเครื่องข้างขวดที่เขียนว่า 0W-20 ,0W-30 ,0W-40 รหัสเหล่านี้มันมีความหมายว่าอะไร
โดยตัวเลขจะแบ่งเป็น2ชุด ตามภาพตัวอย่างรหัส 2ตัวด้านหน้า 0W ในภาพที่ด้านบนเป็นรหัสที่ใช้เรียกแทนควาทนทานความเป็นไขในสภาพอากาศเย็น ของน้ำมันเครื่องที่เป็นมาตราฐานวิศวกรรมจากอเมริกา (SAE)

โดยรหัสชุดหน้าจะแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ

W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

5W = สามารถคงความข้นไสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

10W = สามารถคงความข้นไสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

15W = สามารถคงความข้นไสไว้ได้ถึง -10องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

รหัสชุดหลังจะยอกค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่มีตั้งแต่ 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 โดยตัวเลขที่มีค่ามากจะมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยจะมีความหนืดน้ำตามลำดับ โดยความหนืดของน้ำมันมีผลต่อการหล่อลื่นและช่วยลดการสึกหรอได้มาก ความหนืดเหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปอยู่ที่ 20-40

โดยอุณหภูมิอากาศในประเทศไทยเครื่องยนต์ใหม่ๆ ก็มักจะเพิ่มค่าความหนืดให้มากขึ้นเมื่อเครื่องยนต์มีอายุมากขึ้น เพื่อให้เครื่องฟิตยิ่งขึ้น โดยเราสามารถทราบความเหมาะสมของน้ำมันเครื่องได้จากคู่มือที่ให้มากับรถยนต์

และน้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ

ปัจจุบันเครื่องการใช้เชื้อเพลิงไม่ได้มีเพียงแต่ ดีเซล และ แบนซินเท่านั้น เพราะมีพลังงานทางเลือกอย่าง LPG และ NGV น้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานสูงสุดกับเครื่องยนต์บางประเภท

  • โดยสามารถสังเกตได้ที่ข้างขวด ระบุว่า
  • FOR NGV, LPG & Gasoline สามารถใช้ได้ดีกว่าสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV และ LPG

Heavy Duty ใช้ได้ดีสำหรับรถที่บรรทุกของหนัก

อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติมได้ที่