เชื่อว่าข้อสงสัยสำหรับเรื่องน้ำมันเกียร์มีอยู่มากๆมายสำหรับคนใช้รถทั้งมือใหม่และมือเก่า เพราะเรื่องน้ำมันเกียร์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้เปลี่ยนบ่อยๆ แต่เมื่อจะเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ซักครั้ง สำหรับบางคนก็จะฝากเรื่องนี้ไว้กับศูนย์หรือ อู่ช่างซ่อมต่างๆ ให้ดูแล
แน่นอนว่า น้ำมันเกียร์ที่เราใช้กันอยู่นั้นมีหลายยี่ห้อ และหลายเบอร์ ขึ้นอยู่กับคุณภาพและราคาที่เราจะเลือกซื้อมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและรถยนต์ของคุณ ทั้งความปลอดภัยและรถจะได้อยู่กับคุณไปนานๆ
ปัจจัยสำคัญของระบบเกียร์นั้นมีฟังเฟืองเล็กๆมากมายหลายชิ้นส่วน และเบอร์ของน้ำมันเกียร์นั้นจะตัวเป็นกำหนดค่าความหนืด (Viscosity) โดยจะมีการใช้งานอยู่ระหว่างในช่วงเกียร์ที่ต้องการความหนืดต่ำและช่วง
น้ำมันเกียร์มีกี่แบบ?
อันที่จริงแล้วน้ำมันเกียร์ จะมีอยู่ 2 ระดับน้ำมันเกียร์ระดับโมโนเกรด และน้ำมันแบบ มัลติเกรด และน้ำมันทั้ง 2 แบบจะขึ้นอยู่ความหนืดของน้ำมันเกียร์
ระดับโมโนเกรด เป็นน้ำมันเกียร์ที่ถูกกำหนดด้วยตัวเลขเช่น 70, 90, 140, 250 ฯลฯ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ จะหมายถึงความข้นหนืดของน้ำมันเครื่อง เพราะตัวเลขยิ่งสูงความข้นหนืดของน้ำมันเครื่องก็ยิ่งสูงตามไปด้วย ความหนืดของน้ำมันเครื่องจะกำหนดโดยตัวเลขอย่างเดียว จะไม่มีตัวอักษร W (SAE 80 SAE 90 SAE 140 ฯลฯ ) โดยจะระบุการใช้งานในอุณหภูมิที่ 212 องศาฟาเรนไฮ หรือ 100 องศาเซลเซียส
ระดับมัลติเกรด ประสิทธิภาพความหนืดของน้ำมันเกียร์จะมีความเสถียรภาพมากขิ้น โดยมาสารที่เป็นค่าดัชนีความข้นหนืด โดยจะแบ่งตัวเลขและตัวอักษรเป็นแบบ 2 ชุดเพื่อบอกทั้งค่าความหนืดและค่าอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ ด้วยตัวเลขเหล่านี้นี่เอง จึงทำให้มีการเรียกน้ำมันประเภทนี้ว่า มัลติเกรด โดยสังเกตได้ว่ามีตัวอักษร W ต่อท้ายตัวเลข ตัวอย่างเช่น SAE 75W-90 SAE 80W-90 85W-SAE 140 เป็นต้น
ซึ่งหมายเลขชุดแรกนั้นจะหมายถึงความหนืดของน้ำมันเครื่องที่อุณหภูมิเย็น อธิบายอย่างง่ายๆคือ W นั้นย่อมาจากคำว่า Winter แปลได้ว่าอุณหภูมิเย็นนั่นเอง และเลขชุดที่สองจะเป็นการระบุความหนืดของน้ำมันเครื่องที่อุณหภูมิสูง หรืออุณหภูมิที่ร้อนสุดๆ ตัวอย่างการอ่านค่าน้ำมันเกียร์ SAE 75W-90 หมายความว่า มีความหนืดในช่วงอุณหภูมิต่ำ SAE 75W แต่มีความหนืดที่อุณหภูมิสูงที่ SAE90 โดยความแตกต่างจากโมโนเกรดก็คือเป็นการระบุช่วงอุณหภูมิกว้างทั้งอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ
มาตราฐาน API ได้กำหนดประเภทของน้ำมันเกียร์และเฟืองท้าย ดังนี้
- GL-1 เป็นการใช้งานในสภาพงานเบาะของเกียร์ประเภทเฟืองเดือยหมู เฟืองหนอน โดยไม่จำเป็นต้องเติมสารเพิ่มคุณภาพ
- GL-2 ใช้สำหรับเฟืองเกียร์ที่ทำงานหนักกว่าประเภท GL-1 ของเกียร์ประเภทเฟืองหนอน หรือ เพลาล้อ น้ำมันที่ใช้จะมีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อป้องกันการสึกหรอ
- GL-3 ใช่สำหรับงานที่มีสภาพความเร็วและรับแรงกดขนาดปานกลางของเกียร์แบบเดือยหมู ใช้มันที่มีสารเพิ่มคุณภาพแรงกดและเสียดทานขนาดปานกลาง
- GL-4 ใช้สำหรับเฟืองเกียร์ที่มีแรงกดและแรงเสียดทานหนักปานกลาง เหมาะสำหรับเกียร์ประเภท เฟือง ไฮปอยด์ มีคุณลักษณะของการทำงานถึงขั้น MIL-L-2105 และ MIL-L-2105C
- GL-5 ใช้สำหรับสภาพการทำงานหนักมากของเฟืองเกียร์ โดยมากแล้วจะใช้กับเฟืองเกียร์ประเภทไฮปอยด์ และมีคุณลักษณะของงานถึงขั้น MIL-L-2105D หรือใกล้เคียงกับ MOT CS 3000B (มาตราฐานของอังกฤษ)
- GL-6 ใช้สำหรับสภาพงานของเกียร์ประเภทเฟืองไฮปอยด์ที่มีความเร็วสูง และมีแนวเยื้องของเฟืองเกียร์สูงมากกว่า 2.0 นิ้ว และประมาณ 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเฟืองตัวใหญ่
การแบ่งตามความข้นใส
มาตราฐานสำหรับกำหนดความข้นใสของน้ำมันเกียร์กำหนดโดยสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การกำหนดความข้นใสของน้ำมันเกียร์ตามมาตราฐาน SAE J360
ระดับ SAE | อุณหภูมิสูงสุดที่ความข้นใส 150000 cP(ํC) | ที่อุณหภูมิ 100 ํC(cSt) | ที่อุณหภูมิ 210 ํF(SUS) |
75W | -40 | สูงกว่า 4.1 | 40 – 49 |
80W | -26 | สูงกว่า 7.0 | 49 – 63 |
85W | -12 | สูงกว่า 11.0 | 63 – 74 |
90 | – | 13.5 – 24.0 | 74 – 120 |
140 | – | 24.0 – 41.0 | 120 – 200 |
250 | – | สูงกว่า 41.0 | สูงกว่า 200 |
ตารางที่2 การกำหนดความข้นใสของน้ำมันเกียร์ตามมาตรฐาน MIL-L-2105C
ระดับ SAE | อุณหภูมิสูงสุดที่ความข้นใส 150,000 cP | ค่าความข้นใสที่อุณหภูมิ 100 ํC (cSt) |
75 W | -40 | สูงกว่า 4.1 |
80W-90 | -26 | 13.5-24.0 |
85W-140 | -12 | 24.0-41.0 |
ฉะนั้นหากเลือกซื้อน้ำมันเกียร์ก็จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับชนิดเกียร์ ลักษณะของเกียร์และการทำงาน หากคุณใช้น้ำมันเกียร์ที่ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้เกียร์นั้นทำงานหนักมากยิ่งขึ้นหรือเสื่อมสภาพจากอุณหภูมิต่างๆที่ไม่เหมาะสมจนเกิดความเสียหาย ทำให้คุณมีค่าใช้จ่ายเปลี่ยนเกียร์ใหม่ในราคาก้อนโต