สาระน่ารู้ » สาเหตุที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเพราะอะไร?

สาเหตุที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเพราะอะไร?

10 มีนาคม 2022
728   0

เนื่องด้วยราคาน้ำมัน ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนหลายๆคนเริ่มสงสัยกันว่า เกณฑ์การปรับราคาน้ำมันนั้น เกิดจากอะไร และคิดกันอย่างไรกันแน่ ใครเป็นคนกำหนดราคาน้ำมัน ทั้งหมดนี้วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันนั้นมีอะไรกันบ้าง และทำไม ประเทศไทยถึงมีราคาที่สูงจนเป็นข้อสงสัย เดี่ยวแอดมินจะมาเปิดเผยให้หมดเปลือกเลยครับ

เริ่มจากเมื่อในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ทางสื่อข่าวทั่วโลกได้รายงานกันเป็นเสียงเดียวว่า ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤต “ราคาน้ำมันพุ่งสูง” ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ซึ่งล่าสุดน้ำมันกำลังพุ่งทะยานเกินกว่า 130 ดอลลาหต่อบาร์เรล และกำลังพุ่งทยานสูงขึ้นไปเรื่อยๆจนน่าจับตามองเหตุผลนั้นเริ่มต้นจาก

ความขัดแย้ง ระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลต่อราคาน้ำมันโลก

ในปัจจุบันรัสเซีย มีบทบาทอย่างงมากในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของโลก โดยมีการส่งออกน้ำมันวันละ 5 ล้าน บาร์เรล หรือราวๆ 12% ของราคาน้ำมันทั่วโลก และส่งออกผลิตภัณฑ์ปีโตเลียมวันละ 2.5 ล้านบาร์เรล หรือราวๆ 10% ของการค้าโลกโดยรัสเซียมีการส่งออกน้ำมันไปแถบยุโรป 60% และไปแถบอื่นๆ อีก 30% โดยเฉพาะฝั่งจีน ความตรึงเครียดและความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้การส่งออกของ รัสเซียกับยุโรปนั้นมีการหยุดชะงัก จำเป็นสาเหตุที่ทำให้ความต้องการนั้นเริ่มจะไม่เพียงพอ ทำให้ตลาดนั้นปรับราคาขึ้นนั้นเอง

กำลังผลิตน้ำมันดิบ กลุ่มโอเป็ก OPEC+ ลดลง

โดยนักวิเคราหะ์กล่าวว่า OPEC+ การผลิตน้ำมันนั้นยังห่างต่อความต้องการหรืออุปสงค์ของตลาดโลกมาก โดยจะต้องผลิตให้ได้มากถึง 1ล้านบาร์เรล ต่อวัน แต่ตอนนี้ทางกลุ่ม OPEC+ ยังห่างเป้าหมาย เพราะสามารถผลิตได้เพียง 400,000 บาร์เรล ต่อวันหรืออาจจะน้อยกว่านั้น โดยซาอุดิอาระเบีย และ อาหรับอามิเรตส์เป็นเพียงแค่ 2 ประเทศในกลุ่ม OPEC+ ที่มีกำลังการปลิตเหลืออยู่ ขณะที่ตลาดคาดว่าอุปสงค์น้ำมันจะเพิ่มขึ้นถึง 3.8-4 ล้าน บาร์เรล/วัน หลังจากฟื้นตัวเศรษฐกิจโอมิครอน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งหมดนี้ก็เป็นสาเหตุในเรื่องของการปรับราคาด้วยเช่นกัน

ปัญหา Covid-19 เริ่มคาดว่าจะคลี่คลาย

ในบ้านเราอาจจะดูขัดแย้งในเรื่องของการจัดการเรื่อง Covid-19 แต่ทั่วโลกไปเป็นอย่างนั้นเพราะทั่วโลกนั้นมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลง ท่ามกลางการระบาดของสายพันธุ์ โอมิครอน ที่นักเชี่ยวชาญออกมาระบุว่า สายพันธุ์โอมิครอนอาจจะทำให้เป็นโรคไข้หวัดทั่วไปได้ และประชาชนก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ จึงทำให้มีการประกาศล๊อคดาวน์ของแต่ละประเทศน้อยลงหรืออาจจะไม่มีอีกต่อไปส่งผลทำให้มีความต้องการในการใช้น้ำมันในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น

แถบยุโรปเริ่มเข้าสู่สภาพอากาศหนาวเย็น

ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้สามารถผลิตน้ำมันได้น้อยลงในทางแถบยุโรปคือ สภาพอากาศที่หนาวจากพายุฤดูหนาวทำให้ส่งผลกระทบต่อการเดินทางและไฟฟ้าดับหลายพันครัวเรือน โดนอาจจะกระทบต่อการผลิตน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมันหลายๆแห่งก็จะต้องปิดทำการ แต่ในขณะเดียวกันความต้องการในการใช้เชื้อเพลิงกลับประบเพิ่มขึ้นอีกด้วย

แล้วทำไมประเทศไทยถึง “น้ำมันแพง

สาเหตุของการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศไทยนั้นจะแตกต่างจาก ประเทศและถูมิภาคอื่นๆ โดยประเทศไทยนั้นมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันเกือบ 90% ผลิตได้เองได้เพียงแค่บางส่วน มีการจัดหาน้ำมันดิบราวๆ 965,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งจากตะวันออกกลาง มาเลเซีย อินโดนิเซีย สหรัฐฯ หรือ รัสเซีย เราสามารถผลิตได้เองโดยประมาณ 1 แสน บาร์เรลต่อวัน เมื่อเรามีการนำเข้าเป็นหลัก ราคาน้ำมันจึงเปลี่ยนตามตลาดโลกและตลาดเอเชีย บวกกับภาษีสรรพสามิต ตกประมาณ 5.99 บาท ซึ่งภาษีส่วนนี้ มีการเก็บมาโดยตลอด แต่อัตราจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสถานะการคลังของประเทศ และยังมีภาษี เทศบาลหรือภาษีท้องถิ่น อยู่ประมาณ 10% ของภาษีสรรพสามิต หรือเท่ากับ 60 สตางค์ และยังบวกกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7% ของภาษีสรรพสามิต ประมาณ 40 สตางค์ และยังมีการเก็บเงินเข้ากองททุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 10 สตางค์

ปัจจุบันค่าการตลาดจากการขายปลีกน้ำมัน (ต้นทุนและ ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีดน้ำมัน) อยู่ในช่วง 70 สตางค์ ถึง 1.20 บาท ซึ่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กำหนดไว้ที่ 1.40 บาท และนี้ก็เป็นสาเหตุทั้งหมดที่ทำให้น้ำมันประเทศไทยเรามีมูลค่าที่สูงกว่าตลาดประเทศอื่นๆนั่นเอง

และนี่ก็เป็นสาเหตุของราคาน้ำมันประเทศไทยว่าทำไมสูงขึ้นเรื่อยๆ และหวังว่าในอนาคตราคาน้ำมันจะกลับมาคงเดิม ฉะนั้นหากต้องการอ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติมสามารถอ่านเพิ่มเติมได้เลยนะครับ แอดมินจะนำเอาสาระมาฝากทุกวันครับ

อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติม