สาระน่ารู้ » ใครๆก็ทำกัน!! 5 พฤติกรรมมอเตอร์ไซค์มักจะทำผิดกฎจราจรจนชินตาพร้อมค่าปรับ

ใครๆก็ทำกัน!! 5 พฤติกรรมมอเตอร์ไซค์มักจะทำผิดกฎจราจรจนชินตาพร้อมค่าปรับ

25 เมษายน 2022
604   0

ในปัจจุบันคนไทยหันมาใช้รถจักรยานยนต์กันมากขึ้นเพราะด้วยความรวดเร็วและสะดวกสบายในการเดินทาง และคล้องตัวกว่ารถใหญ่ อีกทั้งอัตราความสิ้นเปลืองน้ำมันก็ประหยัดกว่ารถใหญ่ แต่แน่นอนว่าก็ต้องแลกกับความปลอดทั้งตัวเองและคนอื่นที่ร่วมทาง เพราะในปัจจุบัน ผู้ใช้รถจักรยานยนต์หลายๆคน เกิดความหละหลวมวินัยทางจราจรโดยมักจะเจอคำกล่าวอ้างว่า “ใครๆก็ทำกัน” จึงทำให้เราเห็นภาพการกระทำผิดจนชินตา วันนี้เรามาดูกันครับว่า 10 ค่าปรักพฤติกรรมที่รถจักรยานยนต์มักจะทำผิดกฎจราจรจนชินตามีอะไรบ้าง

1. ขับขี่ย้อนศร
การขับขี่ย้อนศร เป็นพฤติกรรมที่เราเห็นจนชินตามาอย่างช้านานคู่กับคนไทย โดยคำอ้างที่ว่า “ใกล้ๆ แค่นี้เอง” จึงเป็นสาเหอันที่จริงแล้วการขับขี่ย้อนศรนั้นอันตรายถึงชีวิต หากคุณไม่ระวังทางปกติ ให้ดีอาจจะเกิดการชนประทะตรงๆ จากรถที่วิ่งมาทางปกติ โดยการขับรถย้อนศรนั้นทางกฎหมายได้ระบุความผิดและค่าปรับไว้ดังนี้

  • การขับรถย้อนศร ถือมีความผิดตามมาตรากฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามมาตรา 41 ที่ระบุไว้ว่า ให้ผู้ขับขี่ขับรถไปตามทางที่กำหนดไว้เท่านั้นห้ามขับรถย้อนศร หรือสวยเลน หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนี้การขับรถย้อนศรยังมีสิทธิ์รับโทษสถานหนักถึงขึ้นติดคุก หลังได้มีการเพิ่มข้อหาโดยการขับรถไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ตามมาตรา 43 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท

2. ขับขี่บนทางเท้า

พฤติกรรมการขับขี่บนทางเท้าเป็นอีกหนึ่งปัญหา ที่คุ้นชินและพบเห็นกันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเส้นทางที่มีททางกลับรถที่ไกลหรือทางที่มีรถติดประจำ นอกจากเราจะเห็นการวิ่งสวนทางย้อนศรแล้ว ก็มักจะเห็นพฤติกรรมการหลบเลี่ยงรถติดโดยการหนีมาวิ่งบนทางเท้าเป็นประจำอีกด้วย โดยเป็นอันตรายต่อผู้เดินทางเท้า และยังสร้างความรำคาณหรือบางครั้งมีการทะเลาะวิวาทกับผู้ที่เดินทางเท้าให้เห็นตามโซเชี่ยล ความผิดกรณีนี้ก็มีค่าปรับเช่นกันนะครับ

  • โดยขับขี่บนทางเท้า นั้นมีความผิดตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดกำหนดโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 5,000 บาท โดยการจอดรถบนทางเท้า ได้ปรับกฎหมายให้เข็มงวดขึ้นแล้ว จาก เคยอยู่ที่ 1,000 บาท ปัจจุบันได้เป็น 2,000 บาท เมื่อรู้กันแบบนนี้แล้วสำหรับคนที่จะขับขี่บนทางเท้าก็ลองทบทวนใหม่นะครับว่าเลือกที่จะ เสียค่าน้ำมันไม่กี่ 10 บาท หรือจะเสียค่าปรับ 2,000 บาทนะครับ

3. กลับรถในที่ห้ามกลับ

กลับรถในที่ห้ามกลับ คุณอาจจะเห็นได้ตามถนนเส้นทางยาวๆ และมีที่ห้ามกลับโดยบังคับด้วยป้ายห้ามกลับ หรือมีการกั้นเส้นทางกลับด้วยแบริเออร์ เพื่อความปลอดภัยสำหรับรถทางตรงที่มีความเร็วสูงหรือถนนแคบ สำหรับคนพื้นที่ในบางพื้นที่ก็มีการละเมิดอยู่บ่อยครั้งจนเป็นเรื่องที่ทำทุกๆวัน อาจจะทำให้ผู้ใช้เส้นทางตรงอาจจะประสปอุบัติเหตุการเฉี่ยวชนขึ้นได้

  • โดยโทษสำหรับการกลับรถในที่ห้ามกลับ ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา53 กำหนดว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เลี้ยงรถมหรือกลับรถ ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยวขวา ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามกลับรถ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายให้กลับรถในเวณดังกล่าว หากฝ่าฝืน มีโทาปรับ 400-1,000 บาท เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็แนะนำให้กลับรถในที่ควรกลับเถอะนะครับ เพราะด้วยความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นอีกด้วย

4. ใช้ทางหลัก (ที่มีป้ายห้าม)

ขับขี่จักรยานยนต์ใช้ทางหลักหรือที่เราเรียกกันว่าทางคู่ขนานอันที่จริงแล้ว โดยส่วนใหญ่ทางหลักจะพบเห็นในเขตเมือง และมีไว้สำหรับรถยนต์ที่ทำความเร็ว และลดการจราจรหนาแน่น เพื่อให้รถมีความคล่องตัวมากขึ้น และลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุของรถมอเตอร์ไซด์ ที่เกิดขึ้นได้ง่ายว่ารถยนต์

  • โดยโทษของการฝ่าฝืนการใช้ทางหลักสำหรับรถจักรยานยนต์ถือเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 35 มีโทษปรับตั้งแต่ 400-1000 บาท ตำรวจมีสิทธิ์จับกุมได้ทันที และนอกจากนั้นหากมอเตอร์ไซด์เกิดอุบัติเหตุบนช่องทางหลัก เจ้าหน้าที่ตำรวจจะพิจารณาตามความผิดตามลักษณะการเกิดเหตุด้วย

5. ฝ่าฝืนเลี้ยวซ้ายหยุดรอสัญญาณไฟ

ป้ายเลี้ยวซ้ายหยุดรอสัญญาณไฟจะต้องสังเกตุให้ดีเพราะต้องยอมรับว่า บางครั้งเล็กจนมองแทบไม่เห็นไม่ใช่แค่จักรยานยนต์เท่านั้น แต่รถยนต์ก็มักจะละเมิดสิ่งนี้กันจนเป็นเรื่องปกติ แต่อันที่จริงแล้วมันมีวิธีสังเกตหากคุณไม่พบป้าย หากเสนซ้ายสุดนั้นมีเส้นทึบก่อนทางเลี้ยว ก็เท่ากับว่าห้ามเลี้ยวซ้ายทันที โดยจะต้องหยุดรอสัญญาณไฟเขียวก่อนนั่นเอง

  • ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 22 มีการบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่สัญญาณจราจรแสดงไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่ต้องเตรียมตัวหยุดหลังเส้นให้รถหยุดเพื่อเตรียมปฎิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฎต่อไป
  • ในกรณีฝ่าไฟเหลือง นั้นผิดกฎหมายหรือไม่ คำตอบนั้นจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำวจจราจร หากมองว่าเป็นการจงใจเหยียบคันเร่งเมืื่อเห็นสัญญาณไฟเหลืองก็สามารถลงโทษปรับ ซึ่งเป็นการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 22 คือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ในกรณี ไฟแดง ถ้าฝ่าสัญญาณไฟแดงเจอโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

เมื่อรู้ค่าปรับกับความปลอดภัยแบบนี้แล้ว เราก็ควรมาตระหนักกันให้มากยิ่งขึ้นว่าเดิมเพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องของค่าปรับ แต่มันหมายถึง ชีวิตเพื่อนร่วมทางที่เราควรจะคำนึง

อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติม