ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับเหล็ก “แหนบ” กันก่อน
อันที่จริงแล้ว ช่วงล่างของรถยนต์นั้น ไม่ได้มีแค่ระบบโช๊คอัพกันสะเทือนจะเป็นแบบสปริงค์เท่านั้น หากมาใช้ในรถกระบะหรือรถบรรทุกหนักๆนิยมใช้เป็นเหล็กแผนซ้อนประกบหรือที่เขาเรียกกันว่า “เหล็กแหนบ”
ซึ่งเหล็กแหนบนั้นจะทำหน้าที่ในการรับน้ำหนัก และรองรับการกระแทกของรถกระบะ บรรทุก หรือลดแรงสั่นสะเทือน ทั้งนี้ความยืดหยุ่นของเหล็กจะถูกกำหนดด้วยความหนาของเส้นแหนบโดยเหล็กแหนบที่ใช้กับรถกระบะ บรรทุก และ รถทั่วไป มีอยู่ 3 ประเภทหลักๆด้วยกัน คือ
1. แหนบบาง ขนาด 6-16 มม. จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 10 ตัน โดยส่วนมาก จะมีความยืดหยุ่นรองรับน้ำหนักได้น้อย แรงดีดตัวต่ำ อาจจะทำให้มีอาการส่วน หรือ มีการโยน ในกรณีที่ใส่แหนบน้อยเกินไปก็อาจจะทำให้รองรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 10 ตัน โดยปกติแล้วจะเห็นในกระบะทั่วๆไป และกระบะ 6ล้อ
2. แหนบหนา ขนาด 16 มม.ขึ้นไป สามารถรองรับน้ำหนักได้เกิน 10 ตัน ลักษณะของแหนบความหนาขนาดนี้ จะมีวแรงดีดตัวสูง ความยืดหยุ่นต่ำ ซึ่งถ้าหากไม่ได้บรรทุกของเลยจะมีความรู้สึกว่าช่วงล่างจะมีการดีดตัวแรง ซึงจะเห็นได้ใน รถขนาดใหญ่ รถบรรทุก รถสิบล้อ รถเทรนเลอร์ รถพ่วง
3. แหนบพาราโลลิค หรือคนไทยเรียกว่า “แหนบนอก” ซึ่งได้เอาข้อดีของแหนบหนาและแหนบบางมารวมกัน โดยลักษณะของแหนบชนิดนี้ คือ ตรงกลางจะหนา ตรงปลายจะบาง สาเหตุที่เป็นแบบนี้คือตรงกลางจะรับน้ำหนักได้มาก ตรงปลายจะลดแรงดีดตัว มีความยืดหยุ่นสูง โดยจะมีความหนาตั้งแต่ 15 มม. โดยอาจจะเห็นได้ในรถยุโรปบางรุ่น ในหนึ่งชุดจะมีราวๆ 2-3 แผนเท่านั้น
จะเห็นได้ว่าแหนบแต่ละแบบนั้น มีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ฉะนั้น เมื่อต้องบรรทุกหนักๆ ก็ควรใช้น้ำหนักให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยและ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วยนะครับ
อ่านสาระน่ารู้ เพิ่มเติม และสามารถดูเว็บไซด์ รถมือสองได้ที่ KITSADAGOODCAR