สาระน่ารู้ » ทางหลวงในประเทศไทยมีกี่ประเภทและดูอย่างไร

ทางหลวงในประเทศไทยมีกี่ประเภทและดูอย่างไร

14 มีนาคม 2021
7494   0

เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยเห็นและสงสัยว่าป้ายตัวเลขที่มีตามลักษณะด้านบนมีไว้เพื่ออะไร แล้วมีความหมายอย่างไรบ้าง ลองมาหาคำตอบกันครับ

โดยทั่วๆไปแล้ว คนส่วนใหญ่จะเข้าใจการมองเส้นทางโดยการอ่านป้ายจังหวัด หรือป้ายอำเภอ แต่อันที่จริงแล้ว การแบ่งและจำแนกของแต่ละภาคของไทยนั้นถูกแบ่งเป็นตัวเลขหลักๆดังนี้

ตัวอย่างคือ ทางหลวงหมายเลข 1 จะเป็นทางหลวงที่อยู่ในภาคเหนือ ทางหลวงหมายเลข 2 จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ซึ่งตามพระราชบัญญัติทางหลวงได้ กำหนดประเภทของทางหลวงไว้ 5 ประเภท
(1) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
(2) ทางหลวงแผ่นดิน
(3) ทางหลวงชนบท
(4) ทางหลวงท้องถิ่น
(5) ทางหลวงสัมปทาน

ทางหลวงหมายเลข 3 จะอยู่ในพื้นที่ภาคกลางภาคตะวันออก ภาคตะวันตก รวมไปถึงภาคบางส่วนของภาคใต้ และทางหลวงหมายเลข 4 ก็จะอยู่ในภายใต้ โดยตัวเลขเหล่าหน้าจะขึ้นต้นนำหน้าแทนพื้นที่ภาค

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

ทางหลวงพิเศษ หรือ ที่เรียกกันว่าทางหลวงระหว่างเมือง เป็นทางหลวงที่จัดทำโดนระบุว่าเพื่อให้มีการจราจรที่ผ่านได้รวดเร็วเป็นพิเศษ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงพิเศษ โดยมีกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และรับผิดชอบบำรุงรักษารวมทั้งให้มีการเข้าออกโดยเฉพาะทางหลวงที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษ โดยทางหลวงพิเศษหว่างเมืองที่คนไทยหรือคนกรุงเทพมักจะรู้จักกันคือถือ มอเตอร์เวย์กรุงเทพชลบุรีซึ่งมีหมายเลขทางคือ ทางหลวงหมายเลข 7 กรุงเทพ – ชลบุรี นั่นเอง โดยมีระยะทาง 153 กิโลเมตร

ทางหลวงหมายเลข 7 กรุงเทพ – ชลบุรี ระยะทาง 153 กิโลเมตร

ทางด่วนหมายเลข 9 หรือ ถนนกาญจนาภิเษก ระยะทาง 165 กิโลเมตร และยังมีโครงการหลวงพิเศษเส้นทางอื่นๆ อีกมากมายที่กำลังก่อสร้าง และอนุมัติโครงการอีกด้วย

เมื่อเดินทางไปต่างจังหวัดในบางพื้นที่ บางคร้งอาจจะพบว่าเมื่อใช้ระบบนำทางแล้วจะมีถนนบางหมายเลขที่ควรอยู่ในภาคปรากฎอยู่ในภาคอื่นๆ เช่นถนนหมายเลข 4xxx อยู่ในพื้นที่จังหวัดภาคอีสาน และทั้งที่บริเวณใกล้เคียงกันที่มีถนนที่ขึ้นต้นด้วยเลข 2 อยู่ ที่เป็นแบบนี้เพราะถนนประเทศไทยนั้นมีหลายประเภทและอยู่ภายใต้ในการรับผิดชอบของหน่วยงานที่ต่างกันของบางพื้นที่ จึงทำให้ตัวเลขถูกปรากฎขึ้นในบางพื้นที่ ลองมาดูกันครับว่ามีทางหลวงประเภทใดบ้าง และขึ้นอยู่กับหน่วยงานใดบ้าง

ทางหลวงแผ่นดิน

เป็นทางหลวงที่คนทั่วๆไปมักจะคุ้นเคยมากที่สุดเพราะเป็นเส้นทางสาธารณะสายหลักเป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาคจังหวัดและอำเภอ รวมไปถึงสถานที่สำคัญ โดยผู้ดูแลทางหลวงแผ่นดินคือกรมทางหลวง และ กระทรวงคมนาคมนั่นเอง โดยจะสังเกตได้ว่าทางหลวงจะนิยมใช้ชื่อบุคคลหรือนามสกุลของบุคคลนั้นๆที่มีความสำคัญในพื้นที่นั้นๆมาตั้งเป็นชื่อถนน อย่างเช่น พหลโยธิน หรือ จรัญสนิทวงศ์ ต่อมาเมื่อมีโครงข่ายทางหลวงเป็นจำนวนมากจึงเริ่มนำระบบหมายเลขทางหลวงมาใช้ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทานที่กรมทางหลวงดูแลอยู่โดยมีเลขตั้งแต่ 1-4 ตัว และละตัวเลขจะบอกเส้นทางสายของแต่ละภาค โดย ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 จะเป็นภาคเหนือรวมถึงบางส่วนจะเป็นพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนขึ้นต้นด้วยหมายเลข 2 คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมไปถึงบางพื้นที่มีภาคเหนือและภาคกลางด้วย

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข1 (ถนนพหลโยธิน)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข2 (ถนนมิตรภาพ)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)

ทางหลวงชนบท

เป็นทางหลวงที่มีการรับผิดชอบโดยกรมทางหลวงชนบทจะมีหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งในการสร้าง ขยาย และบำรุงรักษา และมีการขึ้นทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบทหรืออธิบดีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้จัดการให้ลงทะเบียนไว้ มีรหัสทางเป็นตัวบอกที่ตั้งและลำดับของเส้นทาง ซึงจะปรากฎอยู่บนป้ายทางของทางหลวงชนบทเส้นนั้นๆ โดยมีตัวย่อของจังหวัดตัวเลข 2 ตัว และ ตัวเลข 4 ตัว เช่น สข.3015 ที่หมายถึงจังหวัดสงขลา หรือ สต.6031 ที่หมายถึง จังหวัดสตูล ส่วนเลข 4 ตัวที่ตามหลังตัวเลขจะเป็นการบอกถึงการเชื่อมโยงของถนนเส้นนั้นว่าเริ่มต้นจากที่ไหน โดยมี 6 ตัวเลขที่ใช้ ซึ่ง เลข 1 หมายถึงการเริ่มต้นทางหลวงที่มีเลขตัวเดียว, 2 หมายถึงเริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลข 2 ตัว, 3 หมายถึงเริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ตัว เลข 4 มหายถึงเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 4 ตัว ส่วนเลข 5 หมายถึงเริ่มต้นจากทางหลวงชนบทหรือทางหลวงท้องถิ่นและหมายเลข 6 หมายถึงถนนที่เริ่มต้นจาก สถานที่เช่นตำบลอำเภอ โรงเรียน หรือ วัด

และนอกจากนี้ทางหลวงชนบทยังมีการใช้เลข 3 ตัง ตามหลังตัวย่อของจังหวัดในรหัสสายทางด้วย สำหรับสะพานและถนนเชื่อมต่อ

ทางหลวงท้องถิ่น

เป็นทางหลวงที่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินสร้าง ขยายและบำรุงรักษา ได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่น โดยสามารถสังเกตได้จากป้ายทางหลวงท้องถิ่นซึ่งจะปรากฎบนป้ายริมถนนจะประกอบด้วยตัวอักษร 3 ตัวแล้วตามด้วยเลข 5 หลัก เช่น สข.ถ แล้วตามด้วยตัวเลข 1 0052

ทางหลวงสัมปทาน

คือทางหลวงที่ให้เอกชนสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทาน และมีการขึ้นทะเบียนไว้เป็นทางหลวงสัมปะทาน

โดยในปัจจุบันกรมทางหลวงมีทางหลวงสัมปทาน 1 สายคือ ทางยกระดับอัตราภิมุขหรือดอนเมืองโทลล์เวย์ช่วงเฉพาะทางยกระดับตั้งแต่ดินแดงถึงดอนเมืองบนถนนวิภาวดีรังสิต โดยทางหลวงสัมปทานจะมีระบบหมายเลขทางหลวงเหมือนกันกับทางหลวงแผนดินหรือทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ซึ่งดอนเมืองโทลล์เวย์ในส่วนทางยกระดับดินแดงถึงดอนเมืองที่เป็นทางหลวงสัมปทานถูกจัดให้เป็นทางด่วนส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 31 ขณะที่ช่วงตั้งแต่อนุสรณ์สถานถึงรังสิทเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดืนหมายเลข 1

อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติม