สาระน่ารู้ » ไม่หลบรถฉุกเฉิน โทษหนักกว่าที่คิด

ไม่หลบรถฉุกเฉิน โทษหนักกว่าที่คิด

11 มิถุนายน 2021
1254   0

เรามักจะพบเจอบ่อยๆบนโลกออนไลน์ มักมีการแชร์คลิปที่ไม่ยอมหลบรถฉุกเฉิน ตีมึนทำเป็นไม่สนใจ ทำให้รถฉุกเฉินไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ พฤติกรรมเช่นนี้มีโทษอย่างไรบ้าง?

พระราชบัญญัติจราจรบางบก มาตรา 76 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้สัญญาณแสงวับวาบหรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน ผู้ขับขี่ที่อยู่ด้านหน้าจำเป็นต้องให้ทางรถฉุกเฉินไปก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 500 บาท

มันอาจจะดูน้อย กับโทษที่ได้รับ เพียงแค่ถูกปรับ 500 บาท แต่ไม่ควรคิดเช่นนั้น หากเป็นกรณีรถพยาบาลต้องไปส่งคนเจ็บ แล้วเกิดเสียชีวิตเพราะไปส่ง รพ ไม่ทัน ญาติผู้เสียชีวิตสามารถฟ้องร้อง ผู้ที่ขัดขวางรถฉุกเฉิน ก็อาจเข้าข่าย “กระทำความผิดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือกระทำโดยเจตนาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย” ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของผู้ขับขี่ในขณะนั้น ซึ่งมีโทษถึงขั้นจำคุก

รถฉุกเฉินสามารถทำอะไรได้บ้าง?

มาตรา 75  ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้

1.ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้

2. หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด

3. ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้

4. ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร

5. ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้

ต้องทำอย่างไรเมื่อเจอรถฉุกเฉินขอทาง?

มาตรา 76 เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด

2. สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก

3. สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

ในการปฏิบัติตาม (2) และ (3) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

ยังไงก็พยายาบอย่าขัดขวางรถฉุนเฉินจะดีกว่านะครับ จะได้ไม่ต้องมีเหตุการณ์สูญเสียชีวิตเกิดขึ้น ชีวิตคนนั้นสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด จงเห็นคุณค่าของชีวิตผู้คน

www.kitsadagoodcar.com

บทความที่เกี่ยวข้อง