นายศิริพงษ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจองเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดทำโครงการวิจัยรถไฟไทยทำ หรือการพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ ตามนโยบายกระทรงคมนาคมในโครงการ ไทยเฟิร์ส ไทยทำไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศไทย (Local Content) และลดการสิ้นเปลืองและนำเข้าเทคโนโลยี โดยได้ใช้งบประมาณในการวิจัยตะวรถ รวมงานระบบต่างๆ ภายใต้งบประมาณ 32 ล้านบาท เป็นทุนการสนับสนุนทุนวิจับจากหน่วยงานบริหารและการจัดการททุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 25 ล้านบาท และบริษัท กิจการร่วมค้าไซโนเจน – ปิ่นเพชร จำดัดที่ 7 ล้านบาท
สำหรับการพัฒนารถไฟโดยสารโดยต้นแบบดังกล่าวเป็นการพัฒนาตู้รถไฟโดยสาร 25 ที่นั่ง โดยได้นำโมเดลการให้บริการของ First Class จำนวน 8 ที่นั่งและ Luxury จำนวน 17 ที่นั่ง คาดว่าการพัฒนา ครั้งนี้จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2566 เพื่อเป็นไปตามาตรฐานด้านความปลอดภัย ก่อนส่งมอบให้กับ รฟท. นำไปให้บริการกับประชาชนภายในปี 2566
โดยขั้นตอนการวิจัยโครงการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยการออกแบบและกำหนดคุณลักษณะ การผลิต โดยโครงสร้างตัวรถและองค์ประกอบหลักได้ทำเสร็จแล้ว โดยผ่านการทดสอบตามหลักมาฐานระดับสากลแล้วและทั้งนี้ชิ้นส่วนหลักได้ดำเนินการโดยผู้ประกอบการ ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งคณะกรรมการได้ทำการวิจัยและคำนวนออกแบบและททดสอบ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และขอกำหนดของ รถไฟไทย โดยตู้โดยสารลักษณะนี้สามารถนำไปใช้กับริ้วขบวนได้หลากหลายรูปแบบ
และนอกจากนี้ยังสร้างมูลค่าด้วยระบบ นวตกรรมภายในตัวรถ Smart Infotainment ด้วยเทคโนโลยี 5G และระบบฟอกอากาศด้วย UVC เป็นต้น และทั้งนี้เบื้องต้นจากการประเมิณค่าใช้จ่ายในการพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ พบว่า มีราคาถูกกว่าการนำเข้าไม่น้อยว่า 30% ก่อให้เกิดทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมต่อ รฟท. และประเทศชาติ